ล็อคเทค
มั่นใจทั่วไทย รถใช้ TOD GPS ติดตั้งตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

อุปกรณ์คุณภาพสูงผ่านการทดสอบคุณภาพมาตราฐานไทยและสากลทุกตัว อุปกรณ์ที่ใช้ทุกตัวผ่านการQC 2 ชั้น อุปกรณ์ได้รับรองมาตราฐานโดย

ศูนย์ทดสอบอุปกรณ์ กสทช

ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์ สวทช

การรับรองผลิตภัณฑ์ในตลาดร่วมยุโรป

การรับรองมาตราฐานผลิตภัณฑ์จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ระบบ GPS ติดตามรถบรรทุกวัตถุอันตราย

หลักการทำงานของ TOD GPS สำหรับรถวัตถุอันตราย

  • คนขับรถรูดใบขับขี่ก่อนขับรถหากไม่รูดบัตรหรือใช้บัตรผิดประเภทจะมีเสียงร้องเตือนจนกว่าจะใช้บัตรที่ถูกประเภทรูด
  • เครื่อง GPS จะส่งข้อมูลคนขับรถและตำแหน่งพร้อมความเร็วไปยัง Server ของ TOD โดยผ่านระบบเครือข่ายสัญญาณมือถือ AIS
  • ผู้ประกอบการสามารถดูตำแหน่งรถและรายงานต่างๆได้ทางหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือสามารถดูตำแหน่งย้อนหลังได้ 6 เดือน
  • ข้อมูลจะถูกส่งตรงไปยังกรมขนส่งทางบกตลอด 24 ชม.
  • ข้อกำหนดจากกรมขนส่งทางบกสำหรับรถขนส่งวัตถุอันตราย

    สำหรับรถบรรทุกวัตถุอันตราย (ลักษณะ 4) และรถลากจูง (ลักษณะ 9) ที่ใช้สาหรับลากรถกึ่งพ่วงบรรทุกวัตถุอันตรายที่จดทะเบียนใหม่ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 นั้น กรมการขนส่งทางบกได้ กำหนดให้ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS Tracking) ซึ่งติดตั้งอุปกรณ์ระบุตัวผู้ขับรถโดยใช้ใบอนุญาตขับรถชนิดแถบแม่เหล็กและผ่านการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ส่วนรถบรรทุกวัตถุอันตรายและรถลากจูงที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 แต่ยังมิได้ติดตั้งเครื่อง GPS ต้องทยอยติดตั้งเครื่อง GPS ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2556 สำหรับบางส่วนที่ได้ติดตั้งเครื่อง GPS ไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่มิได้เป็นแบบที่กรมการขนส่งทางบกรับรองต้องดำเนินการปรับปรุงอุปกรณ์ให้ถูกต้องตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดภายในสิ้นปี 2557

    ถาม-ตอบ ข้อกำหนดของกรมขนส่งทางบก กับ รถบรรทุกวัตถุอันตราย

    1. กรมขนส่งทางบกบังคับให้รถประเภทใดบ้างที่ต้องติด GPS

    ตอบ

    รถ 2 ลักษณะ คือ

  • รถบรรทุกลักษณะ 4 หรือรถที่ใช้ในการบรรทุกขนส่งวัตถุอันตราย เช่น รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง สารเคมี วัตถุไวไฟ เป็นต้น
  • รถบรรทุกลักษณะ 9 คือ รถที่คนทั่วไปเรียกว่า “รถหัวลาก” ซึ่งใช้สำหรับลากจูง กึ่งพ่วง เพื่อขนส่งวัตถุอันตราย
  • 2. กรมขนส่งทางบกมีหลักเกณ์ในการบังคับใช้ให้รถบรรทุกวัตถุอันตราย อย่างไรบ้าง(ตามประกาศเดิม)

    ตอบ

  • กรณีรถบรรทุก จดทะเบียนใหม่ ให้เริ่มบังคับใช้จะต้องติดตั้ง GPS ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
  • รถที่จดทะเบียนไว้ก่อนหน้า วันที่ 1 มกราคม 56 และยังไม่ได้ติดตั้ง GPS จะต้องทำการติดตั้งให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 57
  • ส่วนรถที่ได้ติดตั้งเครื่อง GPS ไว้แล้วแต่ยังไม่มีเครื่องรูดบัตรต้องดำเนินการติดตั้งให้ถูกต้องตามประกาศ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 57
  • 3. กรมขนส่งทางบกจะตรวจสอบรายงานอะไรบ้าง

    ตอบ

  • รายงานการขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนด
  • รายงานการขับรถเกินระยะเวลาที่กำหนด (ต่อเนื่องเกิน 4 ชั่วโมง)
  • รายงานการขับรถเกินระยะเวลาที่กำหนด (ระยะเวลารวมกันเกินกว่า 8 ชั่วโมงใน ทุกๆ 24 ชั่วโมง)
  • รายงานการขับรถโดยไม่แสดงตัวผู้ขับขี่
  • รายงานการขับรถโดยใช้ใบอนุญาตผิดประเภท
  • รายงานการขับรถโดยไม่ใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ
  • รายงานการปลดหรือการถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ
  • 4. รายงานการขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนด มีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง

    ตอบ

    รายงานการขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนด จะออกเมื่อมีการขับรถเกินกว่าความเร็วที่กำหนดต่อเนื่องเกิน 2 นาที โดยรถแต่ละลักษณะมีข้อกำหนดด้านความเร็วต่างกันดังนี้

  • รถบรรทุกลักษณะ 4 (รถบรรทุกวัตถุอันตราย) รายงานความเร็วต่อเนื่องที่เกินกว่า 80 กม./ชม.
  • รถบรรทุกลักษณะ 9 (รถลากจูง) ที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย ให้รายงานความเร็วต่อเนื่องที่เกินกว่า 60 กม. /ชม.
  • 5. รายงานการขับรถเกินระยะเวลาที่กำหนด (ต่อเนื่องเกิน 4 ชั่วโมง) มีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง

    ตอบ

    รายงานจะออกเมื่อมีการขับรถต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสี่ชั่วโมง โดยไม่มีการหยุดพักติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 30 นาที ตัวอย่างเช่น

  • รถวิ่งงานมาแล้ว 3 ชั่วโมง 30 นาที แล้วมีการจอดรถพัก 30 นาที ก่อนจะขับต่อ อีก 2 ชั่วโมง อย่างนี้ไม่ผิด แต่ถ้ามีการวิ่งต่อไปเพิ่มเกินไปอีก15นาทีจะผิดทันที
  • รถคันหนึ่งวิ่งงานมาแล้ว 3 ชั่วโมง 30 นาที แล้วมีการจอดรถพัก 30 นาที ก่อนจะขับต่อ อีก 2 ชั่วโมง อย่างนี้ไม่ผิด เนื่องจากมีการพักไปแล้ว 30 นาที เท่ากับเป็นการเริ่มนับเวลาใหม่
  • 6. รายงานการขับรถเกินระยะเวลาที่กำหนด (ระยะเวลารวมกันเกินกว่า 8 ชั่วโมงใน ทุกๆ 24 ชั่วโมง) มีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง

    ตอบ

    รายงานจะออก เมื่อมีการขับรถรวมกันในรอบ 24 ชั่วโมง เกินกว่า 8 ชั่วโมง เช่น

  • รถคันหนึ่งวิ่งงานมาแล้ว 3 ชั่วโมง หยุดพักไป 3 ชั่วโมง ก่อนจะขับต่ออีก 4 ชั่วโมง รวมเวลาแล้ว เป็น 7 ชั่วโมงในรอบ 24 ชั่วโมง อย่างนี้ไม่ผิดเงื่อนไข
  • รถคันหนึ่งวิ่งงานมาแล้ว 2 ชั่วโมง หยุดพักไป 3 ชั่วโมง และขับต่ออีก 4 ชั่วโมง หยุดพัก 2 ชั่วโมง ก่อนจะขับต่ออีก 3 ชั่วโมง รวมเวลาชับรถแล้วเป็น 9 ชั่วโมง อย่างนี้ถือว่าผิดเงื่อนไข รายงานจะแสดงและส่งถึงกรมขนส่ง
  • 7. รายงานการขับรถโดยไม่แสดงตัวผู้ขับขี่ มีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง

    ตอบ

    เวลาที่เครื่องยนต์มีการทำงานหรือรถเคลื่อนที่โดยที่ไม่ได้รูดบัตรแสดงตัวผู้ขับขี่


    7.1 ถ้าในกรณีที่รายงานการขับรถโดยไม่แสดงตัวผู้ขับขี่มีรายงานออกมา แต่ระยะเวลาในการกระทำผิดน้อย เนื่องจากเป็นการขยับรถภายในโรงงาน จะถือว่ามีความผิดหรือไม่

    ตอบ

    โดยปกติแล้วทางกรมขนส่งจะตรวจสอบรายงาน เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ หรือมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ตรวจสอบรายงานของกรมขนส่ง ว่าจะให้ความสำคัญกับระยะเวลากระทำผิดที่น้อยกว่า 10 นาทีหรือไม่

    8. รายงานการขับรถโดยใช้ใบอนุญาตผิดประเภท มีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง

    ตอบ

    กรมขนส่งทางบก บังคับให้ใช้ใบอนุญาตขับรถชนิดที่ 4 เท่านั้นในการแสดงตัว ถ้ามีการใช้ใบอนุญาตขับรถที่ไม่ใช่ชนิดที่ 4 ในการรูดแสดงตัว และเครื่องยนต์มีการทำงานหรือ เคลื่อนที่ รายงานจะออกทันที

    9. รายงานการขับรถโดยไม่ใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ การปลดหรือการถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ มีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง

    ตอบ

    รายงานนี้จะออกเมื่อเครื่อง GPS มีการถูกถอดสาย power ออก และตำแหน่งของรถมีการเปลี่ยนแปลงจากตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่ข้อมูลจะหาย กับตำแหน่งที่เครื่องกลับมาส่งข้อมูลเป็นตำแหน่งละที่กัน


    9.1 ถ้าในกรณีที่รถมีการจอดซ่อมหรือกรณีที่ เครื่อง GPS มีปัญหารับสัญญาณดาวเทียมไมได้ ทำให้ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ หรือไม่สามารถรับสัญญาณ GSM ได้ แล้วมีรายงานการกระทำผิดออกมา จะทำอย่างไร

    ตอบ

    ให้ทางผู้ประกอบการรถแจ้งทางบริษัทผู้ให้บริการ GPS ทันที

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
    โทร.
    082-218-6848
    092-670-1500